Sunday, April 18, 2010

EXHIBITION IN THE COOKING

With kind encourgement of HE Vara-poj and Khun Pasherin, I would have my first exhibition in a green house on the upper deck of their English cafe and tea room called Cassia on Sukhumvit 31, not far from PM's residence!
Supa and I went for an initial discussion on 5 Mar, the place is rather small, currently housing some 6 tables with an out door terrace for another 2 tables, good for a small start.


The idea of the exhibition was first casually brought up in the Facebook network not long ago. I was really excited since it is my first one-man exhibition. However, I later on develop the idea of being just an art exhibition into something more meaningful, as far as I am concerned. Since I am not actually an artist, I see the exhibition as an opportunity to introduce my interest in sketching. The idea seems to get on well with Khun Vara-poj, so, we went ahead.
The Cassia cafe and tea room is such a lovely place, homely and delicious all at once, not the least as a place to hang around and to be seen. It is also very central at 300 meter from Sukhumvit Road.
The exhibition area on the upper fully air-con green house is bright, light and, you know what I realised later, one kind of a gallery unlike any in the wall! It is the only full height GLASS wall gallery! where you will appreciate the leafy shade of nature all around you.

More on my first exhibition soon, on other activity and problems. How shall I hang my paintings on glass wall, how do I display those sketchbooks, etc, since none of us have such experience, it's not only that it is my first exhibition but also that we have never seen one before in Bangkok!!

WHY FOLDING SKETCHBOOK?

15 Apr 10
A good question, indeed! Well, perhaps, let me say WHY folding sketchbook before I come to WHAT is skechbook.
I have been doing skethces on some small size books where ever I go for quite sometime now. It is most enjoyable while doing it on site but I also find looking through them later on just as enjoyable, if not more! However, it came to my realisation that those sketches seem to be just as meaningful to my fellow travelers who quickly associate my sketches with their own sentiments and experience of the trip. And that's when I feel that I would like to share my sketchbooks with friends and others who might have been to such places before, either on their own or with their friends.
Therefore, that's my WHY for a folding sketchbook. It is to share my sketches with friends and those who have been to places, in a form of a casual easy folded pages that's convenient to enjoy, you don't need to bother to read as a book and something more satisfying than a single postcard. The real WHY of folding sketchbook is that this sketchbook is intended to be like your own memorable experience folded into something light yet substantial that you carry with you in you shirt pocket, standing it up on your work desk or dressing table, any where!

Now, when the why is done, the WHAT shall be surprisingly easy. I am not going to make you read the following thousand or so words of explaination but rather showing you PICTUREs of my folding sketchbook instead. That's easy on you and more fun, I hope. Enjoy!!
Alright, first thing first, I wiil have my folding sketchbook lying down, if you don't mind, so you would have a better view of it!

More view of the folding sketchbook.

With some views of the folding sketchbook, I am certain you have a pretty good idea of what it is. In words, if you would allow, it is my most exciting undertaking next to doing sketches itself. I am putting the sketches I love the most in an attempt of sharing them with all. So that you too, could enjoy them since it will be impossible for me to part with my own original sketchbook. And I don't think making a BOOK of a skechbook make any sense to me, at least for now ;-) so, here it is, a folding sketchbook and the WHY and WHAT of it all!
Please, do let me have your thinking, your idea of traveling, meeting people, your reaction to places you've been to and how and what is your means of keeping and sharing those wonderful moments and memories. I would appreciate your feed back and opinion, please share with me.
I will be back in the next few days with further details of my first FOLDING SKETCHBOOK, see you then.

23 Apr 10
It would be an ideal display manner to have viewers experience what they are viewing, the sketchbooks. They should be able to hold, feel, flip and scrutinise all the marks and the mess left behind by the book's creator. That kind of experience might be achieved some where, in Tokyo or New York, but I just still could not imagine Bangkok!
However, my next attempt was something that I am putting in below:


But it may not be possible even that, at the end, it probably ended up some flat opened bookd pasted deadly on the wall, we'll see!

Tuesday, November 24, 2009

25th SketchCrawl in Bangkok

Last Saturday saw sketchers all over the places, we had just a few in Bangkok this time, but with just as much meaning and fun. I determined to go alone this time eyeing an area of old Siam on western end of an historical road below the grand palace. Some how, I was contacted by a 4th year arch. student from Rungsit U to come along, so we went and had a fun sketching day.

We started off from the historical theater of Bangkok, Chalermkrung Royal theater, the first air-conditioned cinema built to celebrate Bangkok's 150 anniversary in 1930s. It used to be an icon of entertainment world, survived the new generation of MULTIPLEX today as the only theater to perform Thai traditional mask dance "Khone".
The New Road cut through several other roads. It is interesting that all such intersection of the era were created full of characteristic. Unlike modern days junctions that were so indifferent and messy. Sao Chingcha junction is one of the great street scape with a grand circular space. Others included Phrayasri junction which was built in era of King Rama 5 (1870s)
In this sketchcrawl, the magic of sketching touched on us when a young lady stop by with her mother. This 6 years old lady in white dress stayed with us for a long while showing her own sketches of her dad with broad neck tie and black shoes. Her steady hand that produced confident line strokes confirmed her mother's proud claim that she is the best in her primary 1 class. She even used my pentel brush pen to write a few lines of chinese poems! I presented my only brush pen as her present (will get a new one tomorrow!)


Sketching in Bangkok could be both fun and, dangerous, especially along this old section of town as the walk way is narrow. However, here is somewhere you could be free of road side vendors that infested all the newer parts of town. But we did not go hungry, after the whole day of street life, we ended up early evening at a unique, alternative bookshop called PASSPORT, a charming small book cafe that has only two tables surrounded by but not just thousand of books but as well as a few hundreds more of every other things including those that you could not think of! And here's how it looks like, to me.
We ended our 25th SketchCrawl with the famous pad thai not far away, and you know how it was like when one is with friends for meals, you forgot everything else.. so, there's no sketch of the famous pad thai, not even the photos of the empty plates, sorry!

Wednesday, October 7, 2009

Hello Bhutan

ผมไปเที่ยวภูฐานกับสยามสมาคมฯจากวันที่ 1 ถึง 12 พค. 2552 ได้รับพร้อมทั้งความรู้และความสนุก กับประสบการณ์ ทิวทัศน์และรูปเสก็ตช์จำนวนหนี่ง
ด้วยสายการบินประจำชาติ Druk Air ของภูฐาน เราใช้เวลาบินประมาณ 5 ชั่วโมงก่อนร่อนลงสนามบิน Paro ในระหว่างหุบเขาใหญ่สองลูก ซึ่งดูสวยประทับใจมาก ทั้งระหว่างร่อนจะลงและเมื่อมองจากระยะไกลหลังเครื่องได้ลงเรียบร้อยแล้ว ความยากง่ายในการร่อนลงกลางเขาสองลูกของสนามบินที่ได้ชื่อว่าขึ้นลงยากเป็นหนึ่งของโลก ไม่เคยอยู่ในมุมใดในหัวสำหรับผู้มาเยีอนเป็นครั้งแรกอย่างผมครับ

เมื่อเข้าในท่าอากาศยาน ก็ประทับใจเป็นอย่างมาก กับการประดับประดาสุดสดใสของสีสันลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ตามด้วยเครื่องแบบเจ้าหน้าที่สนามบิน ที่นอกจากสวยด้วยสีและลายแล้ว ก็ยังทำให้บรรยากาศการตรวจคนเข้าเมือง ดูผ่อนคลายน่าสบายใจอย่างประหลาด น่าจะเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศต่างๆ ว่าบรรยากาศแรกเข้าเมืองสำคัญต่อผู้มาเยือนอย่างไร มีปัญหานิดเดียวสำหรับการเยือนภูฐานตรงที่ต้องตั้งสติอยู่พัก ว่าไม่ได้กำลังเดินเข้าร้านอาหารญี่ปุ่นนะ เท่านั้นเอง
The most striking feature upon arriving the airport was their officers, which I vote as the friendliest dress that immediately put you at ease.

จากสนามบิน เราเริ่มทัวร์ภูฐานด้วยเข้าชมพิพิธภัณท์แห่งชาติ Ta Dzong เดิมเป็นหอคอยเก่า สูง 5 ชั้น ลักษณะป้อมปราการทรงกลมดูน่าทึ่ง ทั้งงามและน่าตื่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับผู้ได้เห็นเป็นครั้งแรกอย่างพวกเรา
Ta Dzong: National Museum, Paro
Ta Dzong, former watch tower, now the National Museum in Paro.

เล็กๆน้อยๆภายในพิพิธภัณท์ทรงกลม บันทึกไว้กลางทางเดินโค้งและทางแยกต่างๆ
gallery
View inside the museum of curved path, exotic displays and directions.

จาก Paro เราเดินทางต่อไป Thimpu นครหลวงของภูฐาน
ยามเย็นใน Thimpu จากห้องพักโรงแรม Riverview สู่ตัวเมืองที่คลี่คาดไปตามเนินคลื่นของหุบเขา และอากาศเบาบางบนความสูง 2400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
A room with a view from River View Hotel in Thimpu

สะพานข้ามแม่น้ำ ตรงข้ามตลาดสดกลาง Thimpu
Traditional timber bridge across fresh market in Thimpu.

จากตัวเมือง เราเดินทางไปวัดทาชิโจ บนเขาแห่งหนึ่ง การเดินทางขึ้นลงไปตามเนินเขานี้ใช้เวลาไปกลับเที่ยวละชั่วโมงครึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ความงามระหว่างทางและตัววัดนั้น คุ้มเกินความเหนี่อยเป็นหลายเท่า
View along the trek to a small private temple Tashichoe Dzong.

ภูฐานมี Dzong (ป้อมปราการที่แปรเปลี่ยนเป็นหน่วยบริหารการปกครองผสมกับกิจกรรมด้านศาสนา) ที่แทรกอยู่กับวิถีชีวิตประจำวันของชาวภูฐาน และ Lhakhang (วัดที่สร้างขึ้นเพื่อกิจกรรมทางศาสนาโดยตรง) กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไมน้อยกว่า 2000 แห่งบนเนื้อที่ประเทศประมาณ 50000 ตร กม ที่มีประชากรประมาณ 6-7 แสนคนเท่านั้น
รูปเสก็ตช์ด้านล่างนี้เป็น ลักษณะทั่วไปของดซองแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยกำแพงอาคารด้านนอกล้อมรอบเป็นกรอบสี่เหลียมสูงประมาณ 3-4 ชั้น บริเวณกลางลานกว้างภายในกำแพงเป็นอาคารหลัก มักเป็นหอคอยด้วย ที่จะเป็นส่วนประกอบพิธีทางศาสนา คล้ายโบสถ์ของวัดไทย
One of some two thousand Dzongs (temples) and monasteries spread out all over Bhutan.

การเยือนภูฐานคือการเที่ยวชม Dzong มากมายหลายแห่ง ซึ่งล้วนแตกต่างกัน ทั้งประวัติความเป็นมา ความแตกต่างและเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ ตลอดจนอายุ ยุคสมัยในการสร้าง ตลอดจนความแตกต่างของการดัดแปลงใช้งานในปัจจุบันที่หลากหลาย เที่ยวจนสับสนปนเปในที่สุด
รูปเสก็ตช์ด้านล่าง เป็นตัวอย่าง Dzong ที่มีอาคารหลักตั้ง ณ กลางลานกว้าง ล้อมรอบด้วยอาคารสองชั้นที่เป็นเสมือนกำแพงชั้นนอก โดยเฉพาะ Dzong นี้ซึ่งเป็นสถานศึกษาด้วย อาคารสองชั้นที่รายล้อมจึงเป็นห้องพักของสามเณรน้อยๆจำนวนมาก
Most Dzong would have one or two inner courts. This courtyard is surrounded with two storey building serve as living quarters for the monks.

จากเมืองหลวงทิมภู เราเดินทางต่อไป ภูนาคา (Punaka) ทางตะวันออกของทิมภู Dzong ที่ภูนาคาเป็น Dzong ขนาดใหญ่สีขาวสอาด สูงสง่าตั้งตระหง่านเลียบริมแม่น้ำภูนาคา เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญทางศาสนาในวโรกาสขั้นครองราชย์ กษัตริย์องค์ที่ 5 ของภูฐาน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551
รูปเสก็ตช์ด้านล่าง เป็นอาคารกลาง มองจากลานภายในลานแรก
Punaka Dzong is both beautiful and dominating, stood proudly by Punaka river.

Gangtey Lhakhang เป็นวัดสำคัญบนยอดเขาแห่งหนึ่งใน Talo สูงประมาณ 3000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รูปเสก้ตช์รูปนี้ ได้รับพรด้วยการเซ็นชื่อโดยท่านเจ้าอาวาส Trulku Thinley ซึ่งถือ(ได้รับการพิสูจน์รับรองแล้ว)ว่าเป็นลามะที่กลับชาติมาเกิดองค์หนี่ง
Gangtey at Talo. Cited as one of the most impressive Dzong, some 3000 meter high above sea level.

พิธีสวดมนต์ในสถานชั้นในของ Gangtey Lhakhang ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหมู่สงฆ์ ที่นั่งเรียงรายหลายแถว ในโถงสูงที่มีธงทิวห้อยระย้าเป็นแถบเป็นทาง หน้าแท่นบูชาที่มีองค์พระสีทองขรึมขนาดใหญ่น้อยมากมายหลายปาง เห็นผ่านริ้วควันธูปและเทียน เสียงประสานสวดที่แผ่วต่ำในบางครั้ง และรัวเร็วในบางคราว กลางจังหวะฆ้องกลอง กรับและแตรในบางครา คงจะไม่มีประสบการณ์ใดในชีวิตนี้ ที่จะทัดเทียบได้กับความรู้สึกของการอยู่ท่ามกลางเสียงสวดของหมู่สงฆ์ที่ภูฐานนี้ และท่ามกลางประสบการณ์แห่งชีวิตนี้ ผมวาดลายเส้นบนสมุดบันทึกให้เป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ
A wonderful first hand experience of a life time in sight, sound, physically and spiritually!

ทุกวัดในภูฐานเป็นแหล่งล้ำค่าด้านศาสนา ศิลปและประวัติศาสตร์ภาพเขียนผนังส่วนมากงดงามประณีตมีสีสันสวยงาม หลากหลาย สร้างขึ้นด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของศิลปินไม่ปรากฎนามจำนวนมากและหลายแห่งที่มีอายุเก่าแก่หลายสิบศตวรรษ ภาพอันมีค่าเหล่านี้ หาชมได้ยากมาก หลายแห่งเก็บรักษาให้พ้นจากการแตะต้องด้วยการใช้ม่านปิดคลุมทั้งผนังด้วยซ้ำ รูปเสก็ตช์บางส่วนของพุทธศิลป์ในวัดแห่งหนึ่ง จากแรงบันดาลใจในขณะที่เห็นนั้น
One or other state of the enlightenment, mostly works of anonymity and some are far back as 7th century.

เดินทางต่อถึงช่วงกลางของภูฐานบนความสูงประมาณ ประมาณ 3000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ส่วนที่ราบกว้างกลางหุบเขาสูงใหญ่ Black Neck Crane Valley เนื้อที่กว้างใหญ่มากเป็นที่เหล่านกกระยางคอดำยึดเป็นแหล่งพำนักในช่วงหน้าร้อน พักที่โรงแรม Dawenchen ในหุบเขาที่ Phobjika เป็นโรงแรมเล็กๆ น่ารัก พร้อมเตาผิงใช้ฟืนในห้องนอน เพราะกลางคืนหนาว Phobjika ไม่มีระบบไฟฟ้าทั้งนี้ เพราะเกรงว่าเสาไฟและสายไฟจะมีผลกระทบระบบความเป็นอยู่ของเหล่ากระยางคอดำที่มาเยือนปีละครั้ง โรงแรมต้องใช้เครื่องปั่นไฟซึ่งปิดหลังสามทุ่มครึ่งด้วย ก็เลยสนุกกับการเติมท่อนฟืนไม้สนเนื่ออ่อน ติดไฟง่ายแต่ไม่นาน ต้องเติมใหม่ทุก 20 นาทีครับ
We had fun feeding logs into this charming heater, every 20 minutes or so, to keep away the 12 deg C.

ลึกเข้าไปในส่วนกลางของภูฐานสู่เมือง Trongsa และ Bhumtang โดยใช้ทางหลวงสายเดียวที่มีในประเทศ เวลาเดืนทาง 5 ชั่วโมงเศษบนทางที่พาดจากตะวันตกจดตะวันออกตลอดความกว้างของภูฐานนี้ ผ่านไปด้วยความเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ที่หลายเสียงยืนยันว่างามราวกับสวิสเซอแลนด์ แต่ที่แน่นอนคืองามด้วยพันธ์ไม้นานาน้อยใหญ่ แพรวพราวด้วยสีสัน และหลายครั้งก็แถมด้วยหมู่ Yak (จามรี) แระเล็มหญ้าเป็นฝูงให้เป็นที่ตื่น่ตาตื่นใจด้วย
Our visit of the central area include Trongsa and Bumthang.

จากนั้น เราย้อนกลับสู่เมืองพาโร ด้วยการอ้อมใต้เล็กน้อย ผ่าน Ha Valley ที่แอ่งเขานี้ เราหยุดทานทานกลางวันแบบปิคนิก ใต้หมู่สนสูงร่มรื่น สนเสียดใบ ในสายลม ริมธารที่น้ำเซาะหิน ไหลรินได้ยิน หมาใหญ่น้อยเมียงมอง ไม่กล้าและไม่กล้ว
Picnic lunch under patch of tall pine trees near a small stream, one of my most memorable times of the trip.

ภูฐานประทับใจ หลายรส หลายลักษณ์ หลายเรื่อง เริ่มแรกโดยตระหนักในธรรมชาติของขุนเขา หุบผา ที่ตระหง่าน โอบล้อมรอบหมู่บ้านและทุกชีวิต มีทางสายเล็กสายคดเคี้ยว วกวนบางครั้ง เกินกว่าแค่เพียงพับผ้า เป็นความงามที่น่ายำเกรง
the valley of winding road

หมู่ธงสีสะพรั่ง สูงลิ่ว สบัดพริ้ว ลิ่วลมอึงคนึง ธงเหล่านี้แพร่พุทธรรมไปกับสายลม ทั่วสารทิศ อีกที้ง ชโลมจิตที่อ่อนล้าของผู้เดินทาง ตามโตรกเขาอันคดเคี้ยว ตามทางอันหักย้อน เท่ากัน
prayer flags that's such a relieve and sheerful sight when you come across one after long hours of traveling

ท่ามกลาง ขุนเขาใกล้ไกลและน้อยใหญ่ ที่อาบฉานด้วยแสงสะอาดของยามเย็น


the hills and the light filled evening sky

ความจริงของชีวิตในโลกวันนี้ ชีวิตที่ไม่เดียวดาย ไม่ไร้คู่สาย แม้บนสวรรค์ ก็ยังแฮปปี้ได้
you are not alone

ครั้งหนึ่งในชีวิต ไม่เสียดายที่ได้ตะเกียกตะกายไปขึ้น Taktsang วัดสำคัญที่สุดของภูฐาน บนเขาสูงที่เมือง ภาโร ในการนั่งวาดลงสี กับสิ่งที่ปรากฎอยู่เบื้องหน้า ที่ไม่ต้องยกเมฆจากรูปถ่ายในห้องโรงแรม หรือนั่งเทียนที่กรุงเทพฯ
once in a life time visited Taktsang, high up on the mountain of Paro.

I will be here, doing this again if I ever visit Bhutan again.

จากทักซัง เราเข้าชม Dzong ใหญ่ที่สุดในภาโร วัดแห่งนี้ ประกอบด้วยลานใหญ่ภายในสองลาน ต่อเชื่อมต่างระดับด้วยขั้นบันไดที่ทอดเงาเหลื่อมล้ำกลางแดดอ่อนยามเย็น
Dzong of Paro: view of court yard and its steps, steps, steps and steps.

วันสุดท้ายที่ภาโร ประตูเข้าออกของภูฐาน สวรรค์บนแดนเขียวของไหล่เขาและหุบกว้าง ที่ธารน้ำไหลเย็น ลมกรรโชกแรง แดดใสฟ้าโปร่ง เมฆหนาลอยฟ่อง บางครั้งระเรี่ยบางครั้งอ้อยอิ่ง ที่เวลามีความหมายน้อยกว่าจุดมุ่งหมาย ที่จุดมุ่งหมายมีความหมายน้อยกว่าความสงบ ที่ที่การเดินด้วยเท้า ให้ระยะทางมากกว่ารถ ที่การฟังให้ความหมายมากกว่าคำพูด และความคิดให้ภาพชัดเจนกว่าการเห็น

ในการวาดรูประหว่างท่องเที่ยวเรียนรู้ที่ภูฐานนี้ รางวัลที่มีค่าที่สุดคือมิตรภาพจากสหายน้อยๆหลายคน เณรน้อยเหล่านี้ พลิกสมุดรูปวาด เพลิดเพลินกับหลายแห่งที่บันทึกไว้ด้วยเส้นหมีกและดินสอ ดีใจเมื่อเจอบางรูป ของสถานที่ที่รู้จัก จำได้ ด้วยเสียงที่ตื่นเต้น ด้วยแววตาที่อยากรู้ และด้วยสีหน้าที่กระตือรือล้น ผมได้แต่ตื้นตัน ที่มีโอกาสนั้นในช่วงลมหายใจนั้น กลางเพื่อนน้อยๆที่เพิ่งรู้จัก ได้ทำในสิ่งที่ให้ความสุขกับอีกสองสามชีวิตนี้
I have no idea if that was the first time this young Bhutanese ever see a sketchbook. But I hope they enjoy the sketches as much as we all do and like the idea of doing sketches.

Sunday, July 19, 2009

23rd World SketchCrawl Day from Bangkok

เริ่มแต่ 8 โมงเช้า นัดเดิมที่วันโพธ์ ปรากฎว่าอาจารย์อารีกลับจากการสอนพิเศษที่สุรินทร์ไม่ทัน ผมและ อ. ปราโมทย์เลยไถลไปตลาดหน้าท่าเตียนแทน อะไรซะอีก โจ๊กหมูใส่ไข่นะซีครับ ก็รู้ๆกันอยู่



หลักฐานครับ งานชิ้นแรก เริ่มแต่เช้า (จะให้จดเย็น แบบมาราธอนไงครับ)
จากนั้น เราก็เตร็ดเตร่เร่ไปตามน้ำ เจอร้านยอดเยี่ยมด้านซ้ายมือของท่าเรือข้ามฟากครับ อ.ปราโมทย์ตรงเป๊ะที่มุมเหมาะก่อนผมจะร้องคว้าเก้าอี้ทันครับ

ผมตลุยล่ะ เห็นเรือข้ามฟากตรงหน้า ก็ซัดซะตามระเบียบ

ความเด๋อที่ไม่น่าอภัยเลยของผมก็คือ ผมฟังไม่ได้ศัพท์ ว่าอาจารย์ Ai(สอน Computer Science ที่บางมดครับ ร่วม SketchCrawl มา 2-3 ปีแล้ว) มาไม่ได้ แต่ความจริง ไปรอ(วาด)เดี่ยวในโบสถ์พระนอนวัดโพ ตั้งกะ 8 โมงเข้า ตามนัดเป๊งแล้ว
อย่างไรก็ตาม อ. Ai ก็ยังกรุณาให้อภัย ตามมาร่วมด้วยสั้นๆ เพราะมีสอน 10 โมงเช้า ก็เลยได้คุยกันเพียงสั้นๆ โชว์งานที่เขียนมาสักชั่วโมงเศษ ตั้งแต่เช้าครับ คนละอัน สองอัน

อ. Ai กลับตอน 9 โมงกว่า ผมและอ.ปราโมทย์ก็ว่ากันต่อ ได้วัดอรุณกันคนละฉาก ขวาบนสีสดใสของอ.ปราโมทย์ ของผมซ้ายล่างครับ แบบฉับพลัน ไร้กังวลครับ

อ.ปราโมทย์วาดรูปไป ผมก็วาดรูปอ.ปราโมทย์ไป แกทำหน้ายุ่ง ผมก็ไม่สน..

ตกเที่ยง ก็ไปหาข้าวกินก่อนเตร่ต่อไปที่ร้าน สยามอาร์ต ซื้อ bockingford แบบเป็นบล๊อค ลด 40% คนละหลายเล่ม ขอถ่ายรูปกับคุณ ไชยวัฒน์ เจ้าของร้านครับ

ขออนุญาตจบช่วงเช้าด้วยรูปของอ.ปราโมทย์ครับ รูปที่ 1 ของอ.ปราโมทย์ครับ

รูปแรกข้างบน วัดอรุณครับ ส่วนรูปที่ 2 นี้ เป็นทิวทัศน์ข้างวัดอรุณ



ภาคบ่ายครับ พอ อ.ปราโมทย์กลับ ผมก็ลุยต่อกับคุณพิบูลย์สองคน
จากโอลด์สยาม เราเดินข้ามสพานพุทธ ลมแดดจัดแต่ลมตึง กลิ่นแม่น้ำ พาหวลกลับตอนเป็นเด็กกระโดดเล่นน้ำ คลองแถวบางวัวครับ
ลานเชิงสะพานทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ แต่ตอนนี้ ใช้เป็นที่เก็บขยะ เอาละ ขยะก็ขยะ จะเสก็ตช์ให้ได้ อย่างที่เห็นในรุปนี่แหละครับ คุณพิบูลย์ หน้ารถขยะ ส่วนผมอยู่ข้างรถขยะ ปักหลักยึดม้าหินเป็นป้อมครับ



สะพานพุทธในจินตนาการของคุณพิบูลย์ครับ
ยังอุตส่าห์มีสีสันงดงาม คงเป็นเพราะหันหลังให้รถขยะนั่นเอง



รูปนี้ เป็นสะพานพุทธโดยผมครับ




ตามด้วยวิวเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามครับ



ผมไม่เคยรู้เลย ว่าแค่ข้ามอีกฝั่งของแม่น้ำ เรามีที่เดินเล่นได้อย่างนี้



สภาพชีวิตแบบหนี่งริมแม่น้ำ




ขอพักแค่นี้ก่อนครับ เดี๋ยวจะยาวเกินไป
อย่างไรก็ตาม หลายคนคงเดยรู้เรี่องชุมชนหนึ่ง
รู้จักกันในชื่อ กุฎีจีน นะครับ
โดยไม่ได้ตั้งใจ ผมและคุณพิบูลย์ก็กำลังลุยเข้ามาในชุมชนนี้แหละครับ
เราได้เห็น ได้วาดบรรยากาศของกุฎีจีนที่ว่านี้
จะนำมาแบ่งกันดูในกระทู้ต่อไปครับ

Thursday, February 19, 2009

What PERSPECTIVE DRAWING is to an architect

Do you think architect is an artist or someone that at least must be able to draw a straight line or two? Well, think about it, find out for yourselve!
Some architects can, some can't, some are good at it and some don't necessarily have to do that, drawing, I mean.
Architects do a lot of things, indeed, more than known to a lot of people. However, architects are trained to draw as part of their training and practice but things have changed. Architectural students still have to learn to draw, to sketch and even certain level of drafting on paper but most would soon leave that behind and just rely solely on computer and, you know that, autocad or sketchup or equivelent.
I did of sketches drawings, perspective drawings not much of drafting but that's only at the later part of my career. Followings are some of my work during my working years in Singapore.


Holiday chalet by you.

A study perspective of a holiday resort.

Food court plaza by you.

An out door food court where the focus was on people and very little of architecture!

The Market Place by you.

Another ambient or mood concept more than building.

MilHQ by you.

As oppose to this very serious expression of building type.

KLIC by you.

To an exterior scene of a larger project scope. And finally the full scale over all view of the entire project.

KLIC by you.

Perspective drawings, whether they be hand drawn, Sketchup-ed, Studio Max-ed or what so ever, would always be a breath away, never too far to an architect's life. Now the question really is: whose nose would an architect choose in using?